0
0
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

รวมโปรแกรม-แอปฯ ดี๊ดี...มีไว้อุ่นใจในช่วงโควิด-19

calendar_month 27 มี.ค. 2020 / stylus Admin Chillpainai / visibility 7,786 / ข่าวท่องเที่ยว

f2068a421dae35e0811fe72d10f9e902f36e4179.jpg

โรคติดต่อจะไม่ติดต่อ ถ้าเราไม่ติดต่อ ในช่วงอยู่บ้านหยุดเชื้อช่วยชาติ เห็นจะมีแค่เทคโนโลยีนี่แหละ ที่เราใกล้ชิดได้มากที่สุด ใกล้ขนาดไหนก็ไม่ต้องกลัวติดเชื้อ แต่เอ๊ะ! สรุป “เราติดหรือยังนะ?” เป็นคำถามที่อยู่ภายในใจเป็นหมื่นล้านคำ ถ้าไม่รู้จะถามใคร ลองถามเทคโนโลยีดูไหม เพราะมีโปรแกรม และแอปพลิเคชั่นมากมายช่วยเราได้

Chillpainai รวบรวม 7 โปรแกรม-แอปพลิเคชั่นแสนดี ที่พร้อมอยู่เคียงข้างเราในสถานการณ์การระบาดโควิด-19 แต่ละโปรแกรมก็จะมีฟังก์ชันการใช้งานแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ การติดตามตัว รายงานสุขภาพกับกรมควบคุมโรค รายงานการเดินทาง บางแอปยังสามารถพูดคุยกับคุณหมอได้ 24 ชั่วโมงด้วย จะมีโปรแกรม-แอป อะไรบ้าง...ตามไปดูกันเล้ย!


1. แอปพลิเคชั่น AOT Airports 

เก็บข้อมูลผู้ที่เดินทางเข้าไทย ส่งตรงถึงกรมควบคุมโรค ติดตามพิกัดที่อยู่ของผู้ป่วยและผู้ที่เดินทางร่วมกัน

fa36784901f8036415ad214c6cbcc30c018f062e.jpg

สำหรับใครที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เมื่อเท้าแตะสนามบินเมื่อไหร่ก็ควรโหลดแอปนี้เก็บไว้ในเครื่องเลย เพราะนี่จะเป็นจะเป็นช่องทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลของเรา ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ เพื่อส่งตรงไปยังกรมควบคุมโรค หากพบว่ามีการติดเชื้อภายหลังเดินทางเข้าประเทศแล้ว ระบบก็จะมีข้อมูลในการติดตามผู้ที่เดินทางร่วมกับเราเพื่อแจ้งเตือนให้รีบกักตัวโดยด่วน ที่สำคัญแอปนี้ยังสามารถติดตามพิกัดที่อยู่ของผู้ป่วยและผู้ที่เดินทางร่วมกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็วด้วย

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น AOT Airports ได้ที่: ระบบ IOS: https://apple.co/2UGbc7q และระบบ Android: https://bit.ly/2wwuAvF


2. แอปพลิเคชั่น DDC-Care 

ระบบรายงานสุขภาพ ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงและผู้ใกล้ชิด ภายใน 14 วัน 

75e7797ef4cdf83482ebb2dfbc8ca4077db1f15a.jpg

แอปนี้เหมาะสำหรับคนที่เดินทางกลัมาจากต่างประเทศเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัว 14 วัน เมื่อเราติดตั้งแอปพลิเคชั่นนี้แล้ว เราจะต้องรายงานสุขภาพ กดรายงานการเดินทาง เพื่อใช้ประเมินเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อบุคคลอื่น นอกจากนี้ยังเหมาะกับคนที่มีโอกาสติดต่อ สัมผัสกับกลุ่มเสี่ยง สามารถแอปนี้เพื่อรายงานอาการต่อกรมควบคุมโรคเช่นกัน ถ้าพบว่ามีอาการเข้าข่าย จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อช่วยเหลือทันที

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น DDC-Care ได้ที่: ระบบ IOS: https://apple.co/2wuDSs1และระบบ Android: https://bit.ly/39ra1Oh


3. แอปพลิเคชั่น ใกล้มือหมอ โดย สสส. 

แอปเช็คอาการโควิด-19 เบื้องต้น-แชทคุยกับหมอฟรี 

d1ae0af78af3f591f9d9c0916b7c38eed41c6df1.jpg

แอปนี้ช่างเหมาะกับเราเหลือเกิน...ตื่นเช้าคิดมา ใครไอ มีไข้ หรือเจ็บคอนิดๆ ก็คงเริ่มหวั่น “นี่เราติดหรือยังนะ?” จะไปตรวจที่โรงพยาบาลก็กลัวรับเชื้อเพิ่มเติม (มีค่าใช้จ่ายด้วย) แนะนำให้โหลด แอปฯ ใกล้มือหมอ มาลองประเมิน ตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 เบื้องต้นด้วยตัวเองก่อน อีกความโดดเด่นของแอปนี้คือ เพื่อนๆ สามารถฝากข้อความถึงแพทย์โดยตรง 24 ชั่วโมง 

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ใกล้มือหมอ ได้ที่: ระบบ IOS: https://apple.co/2IHGVzl และระบบ Android: https://bit.ly/2U6r9TU


4. สบายดีบอท 

บอตบันทึกสุขภาพออนไลน์ ไปเจอใคร ที่ไหนมาบ้าง ดูย้อนหลังได้ 14 วัน 

94b015847dc9ec6280f3e97394d89da188b7f7e6.jpg

ไลน์ไปทำไมตอบช้า? ทำไมอ่านแล้วไม่ตอบ? ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าคุณเป็นเพื่อนกับคนนี้ “สบายดีบอต” เพื่อนคนนี้จะคอยถามและบันทึกอาการต่างๆ ของเราในแต่ละวัน ในรูปแบบการถาม-ตอบ เหมือนแชทคุยกับเพื่อนเลย แถมยังช่วยบันทึกกิจกรรมที่เราต้องติดต่อกับคนอื่นๆ เช่น ออกไปทำกิจกรรมอะไรบ้าง ไปเจอหรือสัมผัสใกล้ชิดใคร และเผื่อเราติดจริงๆ ขึ้นมา ก็สามารถนำข้อมูลนี้ส่งต่อให้คุณหมอได้เลย (แต่ถ้าไม่ติดจะดีที่สุดเนอะ)

เพิ่มเพื่อน สบายดีบอท ได้ที่: https://line.me/R/ti/p/@sabaideebotหรือเสิร์ชหาคำว่า @sabaideebot (มี @ ข้างหน้า)



5. GooCare ฝ่าวิกฤติ COVID-19 

บอตช่วยจดจำสถานที่จากการ Check in แจ้งเตือนเมื่อเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง

b0f29266f20c8cc1f7393ab9013781e9efc9fb3f.jpg

05335ffcb38997fe95f4e268d4f08c399c89cf25.jpg

ใครไม่แคร์ GooCare นะรู้ยัง? อีกหนึ่งไลน์บอตที่มีฟีเจอร์ช่วยจดจำสถานที่จากการ Check in โดยระบบจะบันทึก Track Location ของเราเอาไว้ เช่น หากเราเดินทาง หรือเคยเดินทางไปยังบริเวณที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระบบก็จะแจ้งเตือนให้เรารู้ จะได้รีบกักตัว ติดตามอาการตัวเองอย่างทันท่วงที หรือใครมีแววจะป่วย ก็สามารถใช้ฟีเจอร์ “เช็คหน่อยมั๊ย” เพื่อสำรวจดูว่าเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงหรือเปล่า ซึ่งข้อมูลพวกนี้จะถูกเก็บเป็นความลับ ไม่ได้ไปเอาไปเผยแพร่ต่อสาธารณะแน่นอน

เพิ่มเพื่อน GooCare ได้ที่: https://lin.ee/tOSpesz หรือเสิร์ชหาคำว่า @goocare (มี @ ข้างหน้า)


6. ฟีเจอร์ History Location ของ Google Map

ฟีเจอร์บันทึกประวัติการเดินทางอัติโนมัติ

87342d312b49f3863a3f583d78c56ee9c08cdd36.jpg

จะดีกว่าไหม? ถ้าเราจะเริ่มบันทึกประวัติการเดินทางตั้งแต่วันนี้ เพราะหากเรากลายเป็นหนึ่งผู้ติดเชื้อขึ้นมาจริงๆ เราจะต้องรายงานประวัติการเดินทางย้อนหลัง 14 วัน อย่างละเอียดต่อหน่วยงานของรัฐ บอกลาการจดประวัติการเดินทางใส่กระดาษ หรือคอยบันทึกลงโทรศัพท์ให้วุ่นวาย เพียงแค่เพื่อนๆ เข้าไปที่ Google Map (ทั้งแอปพลิเคชั่นและ Web Browser) หลังจากนั้น...เปิดการใช้งานฟีเจอร์ Location History แค่นี้ก็สามารถบันทึกประวัติการเดินทางได้อัตโนมัติ ง่ายๆ แค่ 4 ขั้นตอนนี้เลย

  • เข้าไปที่แอปพลิเคชัน Google Map
  • กดที่รูปภาพโปรไฟล์ของเรา
  • เลือก ข้อมูลของคุณในแผนที่ (Your data in map)
  • ปิดใช้งาน ประวัติตำแหน่งทั้งหมด (Location History)

78a896a465a9ad2835d10f37f74df614b12adcb8.jpg

58f2f60eb952319a20553e70f79b8aace7349777.jpg

และที่เหนือไปกว่านั้น เรายังสามารถเรียกประวัติเหล่านี้ออกมาใช้ในรูปแบบเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ผ่านทางฟีเจอร์ของ Google Takeout (ประวัติการใช้งานและข้อมูลส่วนบุคคล) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีแค่ Google และเราเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้ 


7. โปรแกรม COVID-19 tracker 

โปรแกรมแจ้งพิกัดผู้ติดเชื้อทั่วประเทศไทย

558e69caf77910a85371026da4277d7592bd5cf2.jpg

‘Covidtracker’เว็บไซต์ที่รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในรูปแบบแผนที่ครั้งแรกในประเทศไทย โดยเว็บไซต์นี้จะระบุตำแหน่งผู้ติดเชื้อ COVID-19 ว่าอยู่ตรงจุดไหนบ้าง รวมถึงรายละเอียดอย่าง เพศ อายุ ประวัติการเดินทาง เป็นเคสรายที่เท่าไหร่ กำลังรักษาตัวอยู่ที่ไหน และแนบข่าวผู้ติดเชื้อที่ใช้อ้างอิง เพื่อลดการแชร์ต่อของ Fake News ด้วย ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเพจเฟซบุ๊กของ 5Lab และเว็บไซต์ https://covidtracker.5lab.co 


เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai