calendar_month 21 ก.ย. 2017 / stylus Admin Chillpainai / visibility 32,540 / เกร็ดท่องเที่ยว
ถ้าพูดถึงเรื่องความรัก เราคงนึกถึงภาพของคู่รักที่จูงมือกัน ขับรถไปดูพระอาทิตย์ตกดินด้วยกัน สวีทหวานอย่าบอกใคร และบางครั้งคุณอาจจะเคยฝันถึงคนพิเศษ หรืออาจจะฝันถึงคนในสเป็ค ซึ่งสิ่งที่เราตั้งใจจะพูดถึงก็คือ สิ่งเหล่านี้อาจเกิดจากปัจจัยทางชีวภาพที่จะทำให้คนเรารู้สึก “ตกหลุมรัก” ใครสักคน เพราะโดยปกติแล้วเราจะสนใจแต่ความโรแมนติกของความรัก จนลืมคิดไปว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาทางวิทยาศาสตร์ในร่างกายของคนเรานี่แหละ
การตกหลุมรักทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น สิ่งยากๆ หรืออุปสรรคขวากหนามก็หายไปในพริบตา แถมโลกใบเดิมก็ดูสดใส น่าอยู่กว่าที่เคยเมื่อเราเจอคนที่ใช่ ถึงแม้ว่ามันจะดูเหมือนเรื่องจริง แต่ความรู้สึกบางอย่างเกิดจากการหลั่งของสารในสมอง เพราะฉะนั้นเราบอกได้เลยว่า ความรักไม่ใช่เรื่องของความโรแมนติกแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีความเกี่ยวพันกับร่างกายของคนเรา ที่มีความซับซ้อนและมีเรื่องให้เราต้องทึ่งตลอดเวลา
ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต่างจำเป็นต้องมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพียงพอสำหรับดึงดูดเพศตรงข้าม
ใช่ค่ะ แม้ว่าจะกับผู้หญิงเอง ซึ่งมีเทสโทสเตอโรนไม่มากก็ตาม เจ้าฮอร์โมนนี้ทำให้คนเรารู้สึกปราถนา พอๆ กับพฤติกรรมก้าวร้าวนั่นแหละ ซึ่งมันจะช่วยผลักดันให้เราอยากเจอคนที่ใช่ คนที่เราใฝ่ฝันถึง
เราสามารถสัมผัสได้และรู้สึกดึงดูดจากคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน
ถ้าข้อนี้ไม่แปลก ก็ไม่รู้แล้วว่าจะมีอะไรแปลกกว่า โดยงานวิจัยชิ้นนี้เกิดจากการทดลองของ Claude Wedekind จากมหาวิทยาลัยสวิตเซอร์แลนด์ ที่ให้ผู้หญิงดมกลิ่นเสื้อยืดที่ผู้ชายใส่แล้ว ผลคือผู้หญิงจะเลือกดมกลิ่นของผู้ชายที่มีระบบภูมิคุ้มกันแตกต่างจากตัวเองเสมอ ซึ่งเราพบว่างานวิจัยแบบนี้สามารถพบได้กับสัตว์จำพวกหนู
การตกหลุมรักทำให้เรารู้สึกเสพติด เช่นเดียวกับการติดโคเคนหรือติดบุหรี่
โดพามีน สารเคมีในสมองที่มักจะหลั่งออกมาในช่วงแรกเริ่มของความรัก ซึ่งเหมือนกับตอนที่ใช้โคเคนหรือนิโคติน สารนี้จะทำให้คนรู้สึกมีความสุข จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเสพติดนั่นเอง แต่บอกได้เลยว่า การตกหลุมรัก เป็นตัวเลือกในการเสพติดที่ปลอดภัยกว่ามาก
ความรักทำให้คนเป็น ‘บ้า’
สิ่งที่คุณอาจเคยรู้หรือไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับความรักคือมันสามารถทำให้คุณหลงจนหัวปักหัวปำ ซึ่งปริมาณเซโรโทนินที่หลั่งออกมาของคนที่รู้สึกหลงใหลนั้นเทียบเท่ากับผู้มีอาการย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งเป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคุณถึงไม่สนใจคนอื่นเลยนอกจากคนที่คุณรัก
รัก(ต้อง)ทำให้คนตาบอด เพื่อให้อยู่ต่อได้ยาวๆ
โนแคร์ โนสน ไม่ว่าใครจะพูดอะไรเกี่ยวกับคนรักใหม่ เขาหรือเธอคนนั้นยังคงเพอร์เฟคในสายตาคุณเสมอ สิ่งที่คุณละเลยหรือมองไม่เห็นนี้เป็นสิ่งจำเป็นในการก้าวไปสเต็ปต่อไปของความสัมพันธ์ และเป็นสิ่งที่คู่รักต้องการในการก้าวเข้าสู่ความสัมพันธ์แบบผูกมัด และเรื่อยยาวไปจนถึงการมีลูกและเลี้ยงจนโต ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกว่าการเพิ่มประชากรให้แก่โลกใบนี้
เซลล์ประสาทของคุณทำงานได้ดีในช่วงปีแรกของความรัก
เจ้าโปรตีนในร่างกายของคนเราที่เรียกว่า สารปรับการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทและสมองให้สมบูรณ์ที่เรียกว่า Nerve Growth Factor (NGF) นั้นมีความสำคัญต่อการทำงานอย่างเป็นระบบของเซลล์ประสาท ที่จะทำงานมากขึ้นในช่วงแรกของการมีความรัก ซึ่งโดยปกติแล้วประสาทสัมผัสของคนเราจะทำงานหนักขึ้นและมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight or flight response system) ที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่คนกำลังเริ่มมีความรัก
ความรักแบบโรแมนติกกับความรักแบบแม่กับลูกนั้นมีความเกี่ยวพันทางเคมีเหมือนกัน
ออกซิโทซินเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่แม่คลอดลูกและตอนที่ให้นม ดูแลลูก จึงเรียกว่าเป็น ‘ฮอร์โมนแห่งความรัก’ ซึ่งเป็นฮอร์โมนเดียวกับที่หลั่งออกมาตอนที่ถึงจุดสุดยอด อีกทั้งออกซิโทซินยังช่วยประคับประคองความสัมพันธ์ระยะยาวให้ไปได้ด้วยดีอีกด้วย
หากไม่มีฮอร์โมนที่ช่วย “ยึดเหนี่ยว” ความรักและความสัมพันธ์ที่มีก็จะจางหายไป
มีการศึกษาพบว่าหนูแพรรี่ (prairie volve) สัตว์ฟันแทะที่มีรูปแบบความสัมพันธ์ระยะยาว ซึ่งแตกต่างจากหนูปกติธรรมดาทั่วไปที่ไม่มีฮอร์โมนวาโซเพรสซิน จึงมักจะเลิกสนใจคู่ของตนทันทีและไม่คิดที่จะปกป้องคู่ของตนเองที่หันไปมีคู่รักใหม่เลยด้วยซ้ำ แต่กับเจ้าหนูแพรรี่นั้นมักจะอยู่กับคู่ของมันตลอดเวลาและแทบไม่แยกห่างกันเลย
เรามักจะถูกดึงดูดเข้าหาคนที่ลักษณะคล้ายและ/หรือมีกลิ่นที่คล้ายกับพ่อแม่ของพวกเรา
ฟังดูหลอนๆ อยู่นะ แต่จะว่าไปก็ดูเหมือนจะจริง เพราะคู่รักที่มีลักษณะคล้ายพ่อแม่ของเรานั้นจะให้ความรู้สึกที่อบอุ่นและสบายใจ หากคุณเป็นผู้หญิง แล้วคุณพ่อของคุณใช้โคโลนจ์กลิ่นเดียวหรือคล้ายๆ กับแฟนของคุณล่ะก็ แสดงว่ากลิ่นนั้นเป็นกลิ่นที่ทำให้คุณอยู่ด้วยแล้วสบายใจ ซึ่งฟังดูมีเหตุผล แต่อย่าเอาไปปนกับแนวจิตวิทยาของฟรอยด์ล่ะ
มีแนวโน้มที่เราจะตกหลุมรักกับคนที่มีลักษณะคล้ายกับตัวเราเอง
ฟังดูเหมือนหลงตัวเองเลยเนอะ? แต่นอกจากรูปลักษณ์ภายนอกและสีผม สีตาแล้ว มีแนวโน้มที่เราจะถูกดึงดูดเข้าหาคนที่มีปริมาตรปอดที่เท่ากัน ความยาวของใบหูเท่ากัน และอัตราการเผาผลาญพลังงานเท่ากัน เป็นต้น
ถึงแม้ว่าไม่มีใครจะไม่อยากจะนึกถึงเรื่องพวกนี้ตอนที่กำลังตกหลุมรัก แต่มันคงจะดีถ้าได้รู้และคอยเตือนตัวเองไม่ให้หลงมนต์เสน่ห์ของเคมีความรัก(ที่เราต้องตกหลุมรักแน่ๆ) จนควบคุมตัวเองไม่ได้
โดย : ชิลไปไหน
จาก : Life Hack
ภาพจาก : pixabay
Tags: ความรัก ความสัมพันธ์ คู่รัก คนรัก สาระน่ารู้
เกร็ดท่องเที่ยว | 10 ก.ค. 2024 | 1,011 อ่าน
เกร็ดท่องเที่ยว | 01 ก.พ. 2024 | 8,867 อ่าน
เกร็ดท่องเที่ยว | 30 มิ.ย. 2023 | 2,811 อ่าน
เกร็ดท่องเที่ยว | 12 ธ.ค. 2023 | 8,750 อ่าน
สถานที่ยอดนิยม เกร็ดท่องเที่ยว | 13 ส.ค. 2020 | 199,727 อ่าน
เกร็ดท่องเที่ยว | 12 ธ.ค. 2023 | 5,041 อ่าน
เกร็ดท่องเที่ยว | 19 มิ.ย. 2018 | 69,949 อ่าน
เกร็ดท่องเที่ยว | 26 ก.ย. 2017 | 27,866 อ่าน
เกร็ดท่องเที่ยว | 25 ก.ย. 2017 | 338,761 อ่าน
เกร็ดท่องเที่ยว | 08 พ.ค. 2017 | 375,763 อ่าน
เกร็ดท่องเที่ยว | 20 เม.ย. 2017 | 40,789 อ่าน
เกร็ดท่องเที่ยว | 20 เม.ย. 2017 | 1,386,775 อ่าน