calendar_month 10 มิ.ย. 2015 / stylus Admin Chillpainai / visibility 7,585 / ข่าวท่องเที่ยว
เครดิตภาพจากทวีตเตอร์ @aoody2011
ปรากฏการณ์เมฆสีรุ้ง หรือ Irisation เรียกว่า Iridescence ก็ได้ เกิดจากการที่แสงอาทิตย์สีขาวตกกระทบเม็ดน้ำขนาดต่างๆ ในเมฆจางๆ ซึ่งเป็นเมฆที่มีจำนวนหยดน้ำไม่หนาแน่นมากนัก เมื่อแสงตกกระทบหยดน้ำแต่ละหยด
เครดิตภาพจากทวีตเตอร์ @tarbaris
เกิดการหักเหเปลี่ยนทิศทางไปจากแนวเดิม แต่เนื่องจากแสงสีต่างๆ (ที่ประกอบขึ้นเป็นแสงสีขาว) หักเหได้ไม่เท่ากัน ผลก็คือ แสงสีขาวแตกออกเป็นสีรุ้ง และเนื่องจากในเมฆจางๆ ที่ว่านี้มีเม็ดน้ำขนาดต่างๆ กัน ทำให้สีรุ้งสีหนึ่ง (เช่น สีเขียว) ที่หักเหออกจากเม็ดน้ำขนาดหนึ่งๆ ซ้อนทับกับสีรุ้งอีกสีหนึ่ง (เช่น สีเหลือง) ที่มาจากเม็ดน้ำอีกขนาดหนึ่ง
เครดิตภาพจากทวีตเตอร์ @tyfyfortfig
จึงทำให้มองเห็นสีรุ้งมีลักษณะเหลือบซ้อนทับกันอย่างสลับซับซ้อน บางทีก็คล้ายสีรุ้งบนผิวไข่มุก บางทีก็ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ปรากฏการณ์สีรุ้งอาจเกิดในเมฆจางๆ บนท้องฟ้า โดยที่ไม่ต้องมีเมฆก้อนใหญ่ (อย่างเมฆฝนฟ้าคะนอง) มาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ แต่เท่าที่พบกันบ่อยๆ ก็คือ สีรุ้งที่อยู่เหนือเมฆก้อนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็นที่ดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า
เครดิตภาพจากทวีตเตอร์ @CatFreppe
เครดิตภาพจากทวีตเตอร์ @Rayyyyz
ข้อมูลจาก www.narit.or.th
เรียบเรียงโดย chillpainai
Tags: ปรากฏการณ์เมฆสีรุ้ง
ข่าวท่องเที่ยว | 23 ธ.ค. 2024 | 107 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 20 ธ.ค. 2024 | 158 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 19 ธ.ค. 2024 | 184 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 17 ธ.ค. 2024 | 415 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 13 ธ.ค. 2024 | 696 อ่าน