0
0
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

ที่เที่ยวอยุธยา : 15 ที่เที่ยวทางประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ที่คนไทยควรไป

calendar_month 02 เม.ย. 2022 / stylus Admin Chillpainai / visibility 234,152 / สถานที่ยอดนิยม

 

 

 "อยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน จิตใจอาวรณ์มาเล่าสู่กันฟัง" hum

เพลงนี้ คิดว่าทุกคนต้องรู้จักและเคยร้องกันมาบ้าง

วันนี้เกียร์กระปุกเลยจะพาทุกคนไปเที่ยวสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชาติไทย

กับ 15 ที่เที่ยวทางประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ที่คนไทยควรไป

 

1. วัดแม่นางปลื้ม 

   

                ชอบวัดนี้มาก ดูสวย ขลัง ร่มรื่น เข้ามาแล้วสบายตัวยังไงไม่รู้...ประวัติวัดนี้เมื่อได้อ่านแล้วก็แปลก แม่ปลื้มเป็นชาวบ้านอยู่ริมน้ำชานพระนครคนเดียว ไม่มีลูกหลาน วันหนึ่งสมเด็จพระนเรศวร(ทรง)พายเรือมาแต่พระองค์เดียว ท่ามกลางสายฝนเมื่อเสด็จมาถึงเห็น(ทอดพระเนตร)กระท่อมยังมีแสงตะเกียงอยู่ เวลานั้นค่ำอยู่ สมเด็จพระนเรศวรจึงได้(ทรง)แวะขึ้นมาในกระท่อมแม่นางปลื้มเห็น ชายฉกรรจ์เสื้อผ้าเปียกขึ้นมา จึงได้กล่าวเชื้อเชิญด้วยความมีน้ำใจ แต่พระองค์ท่านทรงเสียงดังตามบุคลิกของนักรบชายชาตรี แม่ปลื้มได้กล่าวเตือนว่า ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเสียงดังนักเลย เวลานี้ค่ำมากแล้วเดี๋ยวพระเจ้าแผ่นดินท่านทรงได้ยินจะโกรธเอาพระองค์กลับตรัสด้วยเสียงอันดังขึ้นอีกว่า ข้าอยากดื่มน้ำจันทน์ ข้าเปียกข้าหนาว อยากไดน้ำจันทน์ให้ร่างกานอบอุ่นพลันแม่ปลื้มยิงตกใจขึ้นมากอีก เพราะว่าวันนี้เป็นวันพระ แม่ปลื้มได้กล่าวว่า ถ้าจะดื่มจริงๆ เจ้าต้องสัญญาว่า ไม่ให้เรื่องแพร่หลายเดี๋ยวพระเจ้า แผ่นดินรู้ จะอันตราย พระนเรศวรรับปาก แม่ปลื้มจึงหยิบน้ำจันทน์ให้กิน(เสวย) สมเด็จพระนเรศวรได้ประทับค้างคืนที่บ้านของแม่ปลื้มเช้าได้เสด็จกลับวัง ต่อมาได้จัดขบวนมารับแม่ปลื้มไปเลี้ยงในวัง ด้วยความที่แม่ปลื้มเป้นคนมีเมตตา จงรัภักดีต่อพระมหากษัตริย์ หลังจากแม่ปลื้มเสียชีวิต สมเด้จพระนเรศวรจัดงานศพให้สมเกียรติ แล้วสมเด็จพระนเรศวรจึงสร้างวัดให้แม่ปลื้ม นามว่า “วัดแม่นางปลื้ม” พระประทานของที่นี่ คือ หลวงพ่อขาว ซึ่งสวยงามมาก

แผนที่วัดแม่นางปลื้ม 
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม


2. พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย (ทุ่งมะขามหย่อง)

   
 
 
                  พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของทุ่งมะขามหย่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากสมัยอยุธยาเคยถูกใช้เป็นสมรภูมิสู้รบระหว่างไทยกับพม่าหลายครั้ง และเป็นบริเวณที่สมเด็จพระศรีสุริโยทัยสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
 
                 นอกจากนี้ทุ่งมะขามหย่อง ยังมีความสำคัญคือ เป็นพื้นที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใช้เป็นอ่างเก็บน้ำ (แก้มลิง) ซึ่งมีความจุน้ำได้ถึง 2,100,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 180 ไร่ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และในฤดูแล้งจะนำน้ำที่กักเก็บไว้ให้เกษตรกรได้ใช้ในการเพาะปลูก เพื่อพสกนิกรชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
 
                 ทั้งนี้ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ณ ทุ่งมะขามหย่อง เพื่อทรงพักผ่อนพระอิริยาบถ ทรงสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ติดตามโครงการตามแนวพระราชดำริ และทอดพระเนตรการแสดงต่างๆ ท่ามกลางพสกนิกรจากทั่วทุกสารทิศที่เดินทางมาเฝ้ารับเสด็จฯ ในปัจจุบันนี้ ทุ่งมะขามหย่องและพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ และเรียกได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของพระนครศรีอยุธยา
 
แผนที่พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย (ทุ่งมะขามหย่อง)
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม
 

3. พระราชวังบางปะอิน

   

                 เป็นพระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาสร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเป็นที่ประสูติของพระองค์ ใช้เป็นสถานที่ที่ทรงใช้ประทับแรมของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยเป็นพระราชวังใกล้พระนครนั่นเอง หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้างมาระยะหนึ่ง แต่กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งโดยสุนทรภู่ซึ่งได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้เริ่มการบูรณะพระราชวังขึ้น และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้บูรณะครั้งใหญ่ โดยสร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ เปิดให้เข้าชมทุกวันในเวลาระหว่าง 08.00 - 17.00 น. โดยต้องแต่งกายในชุดสุภาพ และไม่ส่งเสียงดัง

แผนที่พระราชวังบางปะอิน

คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม

4. พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย

   

                 เราคงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระสุริโยทัย อัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์กันดีพอสมควรอยู่แล้ว พระองค์สิ้นพระชนม์บนคอช้างเพราะทรงขับช้างเข้าขวางเพื่อช่วยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ที่กำลังเพลี่ยงพล้ำต่อพระเจ้าแปรของพม่าในการทำยุทธหัตถี เมื่อสงครามยุติ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงโปรดฯ ให้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระสุริโยทัยบริเวณสวนหลวง และสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัดสบสวรรค์ และสร้างเจดีย์สูงใหญ่สี่เหลี่ยมย่อไม้มุมสิบสอง เพื่อบรรจุพระอัฐิสมเด็จพระสุริโยทัย เรียกว่าเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ตั้งอยู่ในเกาะเมืองด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันด้านข้างมีอาคารแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับจังหวัดพระศรีสุริโยทัย และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแต่ครั้งโบราณ

แผนที่พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย

คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม

 

4. เจดีย์ภูเขาทอง

                 เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ตั้งอยู่กลางทุ่งนา เรียกว่าทุ่งภูเขาทอง ในอดีตเคยเป็นสมรภูมิรบหลายครั้งหลายคราว ตัวเจดีย์สามารถเห็นได้แต่ไกล สันนิษฐานว่าพระเจ้าบุเรงนอง"พระเจ้าบุเรงนอง แห่งกรุงหงสาวดีเป็นผู้สร้างพระเจดีย์นี้ขึ้นไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์หลังจากยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ เดิมเป็นจีดีย์ศิลปะแบบมอญ กระทั่งในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ใหม่ และเปลี่ยนรูปจากเจดีย์มอญเป็นรูปเจดีย์ย่อไม้สิบสองที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนั้น ส่วนฐานนั้นเป็นศิลปะแบบมอญอยู่

แผนที่เจดีย์ภูเขาทอง

คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม

5. พระบรมราชานุสาวรีย์พระเนรศวรมหาราช

                   อยู่ใกล้ๆ กับเจดีย์ภูเขาทอง (เข้าทางเดียวกัน) เข้ามาแล้วจะพบพระบรมราชานุสาวรีย์พระเนรศวรก่อน แล้วเข้าไปอีกถึงจะเจอเจดีย์ภูเขาทอง มองเห็นหรือถ่ายรูปทั้งสองที่ได้พร้อมกัน โดยจะเห็นเจดีย์ภูเขาทองเป็นฉากหลัง พื้นที่บริเวณนี้เรียกว่าทุ่งภูเขาทอง เมื่อ พ.ศ. 2129 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงกระทำศึกอย่างเหี้ยมหาญ เป็นผลให้อริราชศัตรูต้องพ่ายแพ้ไป พื้นที่นี้จึงได้รับการพัฒนาสร้างเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเทิดพระเกียรติและเป็นอนุสรณ์สถาน และรำลึกถึงมหาวีรกรรมในครั้งนั้น

แผนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระเนรศวรมหาราช

คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม

6. วัดพระศรีสรรเพชญ์

                     เป็นวัดหลวงที่ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังโบราณ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ จึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาสเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง ใช้ประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง และเก็บอัฐิของพระมหากษัตริย์ เป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา (ต้นแบบของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร) ปัจจุบันเหลือเพียงซากอิฐปูนและเจดีย์แบบลังกา 3 องค์ที่ตั้งตะหง่านเป็นจุดเด่นที่ยังคงเป็นจุดที่ดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ ให้ได้จินตนาการดูก็จะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และความงดงามของกรุงศรีอยุธยาในสมัยที่ยังเป็นราชธานี

แผนที่วัดพระศรีสรรเพชญ์

คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม

7. วัดมหาธาตุ

   

                    วัดธรรมิกราชเดิมชื่อวัดมุขราช ตั้งอยู่ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดหลวงเก่าแก่ที่สร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา โดยสร้างขึ้นในยุคเดียวกับวัดพนัญเชิง ความสำคัญของวัดธรรมิกราชนั้นเป็นวัดที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาฟังธรรมกันประจำในวันพระ และเป็นสถานที่สอบเปรียญธรรมสำหรับพระสงฆ์ในสมัยโบราณ จุดเด่นอยู่ที่เศียรพระขนาดใหญ่, วิหารหลวง ซึ่งปัจจุบันคงเหลือแต่เสาเรียงราย ซึ่งเคยเป็นที่ฟังธรรมของกษัตริย์, เจดีย์สิงห์ล้อม และวิหารพระนอน ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่ ความน่าสนใจอีกอย่างคือตรงทางเข้าวัดใกล้ๆห้องน้ำ จะมีตู้เย็นที่มีน้ำดื่มหลายชนิดเช่นน้ำดื่ม น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังอยู่เต็มตู้ ให้เราเลือกหยิบได้เอง แล้วเอาเงินใส่กล่องบริจาคไว้ เพื่อบูรณะซ่อมแซมวัด

แผนที่วัดมหาธาตุ

คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม

 

9. วัดราชบูรณะ

                 วัดราชบูรณะอยู่ติดกับวัดมหาธาตุ ห่างจากพระราชวังโบราณเล็กน้อย มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุด สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. 1967 และโด่งดังมากในเรื่องการถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่งลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธานในปี พ.ศ. 2499 และเอาทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายมหาศาลหลบหนีไป ต่อมากรมศิลปากรเข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองจำนวนมากมาย
 
                ปัจจุบันประชาชนสามารถลงไปชมภาพจิตรกรรมฝาฝนังสมัยอยุธยาตอนต้นภายในกรุได้ด้วย จึงเป็นวัดอีกวัดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมเข้าเยี่ยมชมอยู่เสมอ
 
แผนที่วัดราชบูรณะ
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม
 

10. วัดไชยวัฒนาราม

 
                    วัดไชยวัฒนารามสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์ เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมการก่อสร้างไม่เหมือนวัดอื่นๆ ในอยุธยา สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวก โดยจำลองรูปแบบทางศิลปะมาจากปราสาทนครวัดของเขมร เป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ และเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย ก่อนกรุงแตก พ.ศ. 2310 วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก และเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา วัดไชยวัฒนารามจึงได้ถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง แต่ในปี พ.ศ. 2530 กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535
 
แผนที่วัดไชยวัฒนาราม
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม
 

11. วัดใหญ่ชัยมงคล

 
                 วัดใหญ่ชัยมงคลเดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าไท ตั้งอยู่ในเกาะพระนครทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ จุดเด่นของวัดได้แก่พระเจดีย์ชัยมงคล พระเจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่าได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหลังจากได้รับชัยชนะจากการทำยุทธหัตถี และมีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ภายในพระเดีย์ พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคลอันสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างด้วยหินทรายตลอดทั้งองค์ ส่วนที่เป็นจีวรถูกลงรักปิดทองประดับแก้ว นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 มีคนนำเอารูปปั้นไก่ไปถวายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมบวชชีพราหมณ์และอบรมปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง
 
แผนที่วัดใหญ่ชัยมงคล
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม
 
12. วิหารพระมงคลบพิตร
 
 
                   วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ติดกับพระราชวังโบราณ ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานกันว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มามากมายหลายครั้ง เช่น ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรพระพุทธรูปหัก(สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ) เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรข้างขวาหัก กระทั่งรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระพุทธเสียใหม่ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามานมัสการหลวงพ่อมงคลบพิตรก่อนจะเข้าชมพระราชวังโบราณ บริเวณทางด้านหน้าวิหารพระมงคลบพิตรจะมีร้านค้าตั้งเรียงรายมากมายหลายร้าน จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองแทบทุกชนิด เช่น ปลาตะเพียน เครื่องจักสาน เครื่องหวาย มีด ผลไม้กวน และขนมชนิดต่างๆ สำหรับผู้สนใจซื้อสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ และของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของอยุธยานั่นคือโรตีสายไหม หาซื้อได้ที่นี่เลยจ้า
 
แผนที่วิหารพระมงคลบพิตร
 
 
คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม
 

13. วัดธรรมิกราช

 
  
 
                   วัดธรรมิกราชเดิมชื่อวัดมุขราช ตั้งอยู่ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดหลวงเก่าแก่ที่สร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา โดยสร้างขึ้นในยุคเดียวกับวัดพนัญเชิง ความสำคัญของวัดธรรมิกราชนั้นเป็นวัดที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาฟังธรรมกันประจำในวันพระ และเป็นสถานที่สอบเปรียญธรรมสำหรับพระสงฆ์ในสมัยโบราณ จุดเด่นอยู่ที่เศียรพระขนาดใหญ่, วิหารหลวง ซึ่งปัจจุบันคงเหลือแต่เสาเรียงราย ซึ่งเคยเป็นที่ฟังธรรมของกษัตริย์, เจดีย์สิงห์ล้อม และวิหารพระนอน ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่ ความน่าสนใจอีกอย่างคือตรงทางเข้าวัดใกล้ๆห้องน้ำ จะมีตู้เย็นที่มีน้ำดื่มหลายชนิดเช่นน้ำดื่ม น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังอยู่เต็มตู้ ให้เราเลือกหยิบได้เอง แล้วเอาเงินใส่กล่องบริจาคไว้ เพื่อบูรณะซ่อมแซมวัด
 
แผนที่วัดธรรมิกราช
 

คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม

14. วัดกษัตราธิราชวรวิหาร

 
                   วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศกษัตริย์องค์ที่ 33 ก่อนเสียกรุงฯครั้งที่ 2) เดิมชื่อวัดกษัตราและเปลี่ยนชื่อเป็นวัดกษัตราธิราชในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งนอกเกาะเมืองทางด้านทิศตะวันตก และด้วยทำเลนี้เองพม่าจึงได้ยกทัพมาตั้งที่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร และใช้เป็นที่ตั้งปืนใหญ่เพื่อใช้ยิงข้ามแม่น้ำเข้ามาในพระนครในปีพ.ศ.2303 จนกระทั่งปีพ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาก็แตกลง วัดกษัตราธิราชวรวิหารได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายเป็นอันมากจนถูกทิ้งร้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แวะมาไหว้พระและให้อาหารปลากันได้ พร้อมชมวิวพระเจดีย์ศรีสุริโยทัยที่อยู่ฝั่งเกาะเมือง
 
แผนที่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร 
 

คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม

15. วัดหน้าพระเมรุ

   
 
                    วัดหน้าพระเมรุมีชื่อเดิมว่าวัดพระเมรุราชการาม เป็นวัดโบราณวัดเดียวในอยุธยาที่ยังคงสภาพสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาที่สมบูรณ์มากที่สุด เนื่องจากเป็นวัดที่พม่าเคยใช้ตั้งกองบัญชาการรบ จึงไม่ได้ถูกพม่าเผาทำลาย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดสร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง พระอุโบสถเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดมีความงดงามมาก เป็นวัดยอดนิยมอีกแห่งหนึ่ง นักท่องเที่ยวมักเดินทางมานมัสการหลวงพ่อพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถอันศักดิ์สิทธิ์
 
แผนที่วัดหน้าพระเมรุ
 

คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เพิ่มเติม

 

 

เรียบเรียงโดย เกียร์กระปุก



 

เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai