0
0
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

กัญชา-กัญชง ใช้ส่วนไหนมาประกอบอาหารได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติด

calendar_month 22 ก.พ. 2021 / stylus Admin Chillpainai / visibility 12,409 / ข่าวท่องเที่ยว

1ac1eb0c9c88a3d1392453b8c90a75c60c5f3b13.jpg

สรุปข้อมูลเกี่ยวกับ กัญชา-กัญชง ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? และสามารถนำส่วนไหนมาใช้ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย


กัญชา-กัญชง ต่างกันต่างอย่างไร?

กัญชา

  • ลักษณะใบ : มี 5-7 แฉก สีเขียวจัด

  • สาร THC ที่มีฤทธิ์มึนเมา (Tetrahydrocannabinol) : มี THC สูงกว่า 1%

  • สาร CBD ที่มีฤทธิ์ผ่อนคลาย (Cannabidiol) : มี CBD ต่ำกว่า

กัญชง

  • ลักษณะใบ : มี 7-11 แฉก สีเขียวอ่อน

  • สาร THC ที่มีฤทธิ์มึนเมา (Tetrahydrocannabinol) : มี THC ต่ำกว่า 1%

  • สาร CBD ที่มีฤทธิ์ผ่อนคลาย (Cannabidiol) : มี CBD สูงกว่า


การใช้ในเชิงพาณิชย์ของ กัญชา-กัญชง ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ส่วนประกอบที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ได้แก่

  • ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก ของกัญชาและกัญชง

  • กิ่ง, ก้าน ,ลำต้น, ราก ของกัญชาและกัญชง

  • เมล็ดกัญชง



การเพาะปลูก : ต้องมีแหล่งรับซื้อซัดเจน

การสกัด : สารสกัดต้องมี THC < 0.2%

การใช้วัตถุดิบ : ผลิตสินค้าภายในประเทศเท่านั้น


โดยประชาชนสามารถใช้ใบกัญชา-กัญชงไปประกอบอาหาร เพื่อดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว หรือใช้ตามวิถีภูมิปัญญาได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและทำรายงานใดๆ ส่งอย. แต่ขอให้มาจากแหล่งที่ถูกกฎหมาย ซึ่งได้มีการขออนุญาตในการใช้ประโยชน์กับอย.เท่านั้น


ลงทะเบียนแสดงความต้องการใช้ส่วนของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติดได้ที่นี่ : http://bit.ly/36UYiJD


ส่วนการแปรรูปกัญชา-กัญชงเป็น ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่ายต้องขอเลขอย. ก่อน จึงจะจำหน่ายได้ ที่สำคัญผู้ปรุงอาหารไม่จำเป็นต้องผ่านหลักสูตร อบรมก็สามารถขายเมนูอาหารจากกัญชาในร้านอาหารได้


หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสอบถามที่สายด่วน อย. 1556 กด 3


ขอบคุณข้อมูลจาก : กลุ่มสื่อสารองค์กร กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา / http://chill.travel/3qJSRoD

เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai