0
0
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

ตำรวจตั้ง 2 ข้อหาหลัก ผู้ลักลอบข้ามชายแดนหนีโควิด-19 จากท่าขี้เหล็ก

calendar_month 06 ธ.ค. 2020 / stylus Admin Chillpainai / visibility 3,861 / ข่าวท่องเที่ยว

หลังจากเกิดกรณีที่มีคนไทยจำนวนหนึ่งลักลอบเข้าประเทศจากประเทศเมียนมาตามช่องทางธรรมชาติไม่มีการกักตัว และยังเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ จนทำให้ประเทศไทยมียอดติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น

5e6326ae794152263edc130663ff0cb72c8016d0.jpg

ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา เพจ Facebook ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้เผยแพร่ข้อหาที่มีไว้ลงโทษบุคคลลักลอบเข้าประเทศ โดยระบุว่า 


ตำรวจตั้ง 2 ข้อหาหลัก ผู้ลักลอบข้ามชายแดนหนีโควิด-19 จากท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา คือ

1. เข้ามาในราชอาณาจักรฯ โดยผิดกฎหมาย

2. เข้ามาแล้วไม่ปฏิบัติตามมาตรการ การป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดต่อ


ที่มา: เพจ Facebook ศูนย์ข้อมูล COVID-19


ทั้งนี้ COVID-19 ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามแนวทางการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป  โดยกำหนดบทลงโทษไว้สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนดังนี้

10fc686a1cd1730e6f27a0a076aac9c332c2757e.jpg


004adf63218f178b9208ccb08e983d76161d137b.jpg


50672a29580e940e7013836494078ff6c45a1c59.jpg


มาตรการทางกฎหมายในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในราชอาณาจักร

มาตรา 34 ระบุว่า:

1.นำผู้ที่เป็น/มีเหตุสงสัยว่าเป็น COVID-19/ผู้สัมผัส/พาหะ มารับการตรวจ/การชันสูตร/แยกกัก/กักกัน/คุมไว้สังเกต

2.ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงมารับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

3.ให้นำศพ/ซากสัตว์ไปรับการตรวจ/จัดการทางการแพทย์

4.ให้เจ้าของ/ผู้ครอบครอง/ผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะ กำจัดความติดโรคหรือทำลายสิ่งใด ๆ ที่มีเชื้อโรค หรือแก้ไขปรับปรุงสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ

5.ให้เจ้าของ/ผู้ครอบครอง/ผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะ กำจัดสัตว์ แมลง ตัวอ่อนของแมลง

6. ห้ามผู้ใดกระทำการ/ดำเนินการซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจทำให้โรคแพร่ออกไป

7. ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ

8. เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มี/สงสัยว่ามี COVID-19 เกิดขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรค


มาตรา 35:

สั่งห้ามผู้ที่เป็น/สงสัยว่าเป็น COVID-19 เข้าไปใน

- สถานที่ชุมนุมชน

- โรงมหรสพ

- สถานศึกษา

- สถานที่อื่นใด

**หากฝ่าฝืน มีโทษตั้งแต่ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท จนถึงจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรการทางกฎหมายในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคนอกราชอาณาจักร

มาตรา 39:

เมื่อมีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุสงสัยว่าพาหนะมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใด นอกราชอาณาจักรที่มีการระบาดของ COVID-19 

เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ 

1. ให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้น ๆ จะเข้ามาถึงด่านฯ

2. ให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรยื่นเอกสารต่อ จพต. ประจำด่านฯ

3. ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจจาก จพต. ประจำด่านฯ

   หรือนำพาหนะอื่นใดเข้าเทียบพาหนะนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาต

4. เข้าไปในพาหนะและตรวจผู้เดินทาง/สิ่งของ/สัตว์ที่มากับพาหนะ/ตรวจตราและควบคุมให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะแก้ไข

    การสุขาภิบาลของพาหนะให้ถูกสุขลักษณะ/กำจัดสิ่งอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในพาหนะ

5. ห้ามเจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะนำผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
   โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเข้ามาในราชอาณาจักร

**ฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท


มาตรา 40:

เมื่อรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการด้านวิชาการ (มาตรา 8) ประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรค COVID-19 จพต. ประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ มีอำนาจดำเนินการเอง หรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะดำเนินการ ดังนี้

1. กำจัดความติดโรค เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ของโรค

2. จัดให้พาหนะจอดอยู่ ณ สถานที่ที่กำหนดให้

3. ให้ผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้นรับการตรวจในทางแพทย์ ให้แยกกัก/กักกัน/คุมไว้สังเกต/รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ณ สถานที่และระยะเวลาที่กำหนด

4. ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะหรือที่เอกเทศ

5. ห้ามผู้ใดนำวัตถุ/สิ่งของ/เครื่องใช้ที่เป็นหรือมีเหตุสงสัยว่าเป็นสิ่งติดโรคเข้าไปในหรือออกจากพาหนะ

**ฝ่าฝืน มีโทษตั้งแต่ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท จนถึงจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา 41:

เจ้าของ หรือ ผู้ควบคุมพาหนะ

1. ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้น เพื่อแยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกต หรือรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตลอดทั้งออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศตามมาตรา ๔๐ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. การกำหนดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ


มาตรา 42:

ในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็น COVID-19 หรือเป็นพาหะนำโรค จพต. ประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอำนาจสั่งให้บุคคลดังกล่าว

- ถูกแยกกัก

- ถูกกักกัน

- ถูกคุมไว้สังเกต

- ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

“ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ ให้ผู้เดินทางเป็นผู้รับผิดชอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ”


เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai