0
0
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

ดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เปิด 1 พ.ย.นี้ พร้อมขั้นตอนในการเข้าชมอย่างละเอียด

calendar_month 04 ต.ค. 2020 / stylus นางสาวฮานะ ชิลไปไหน / visibility 20,554 / ข่าวท่องเที่ยว


ดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เปิด 1 พ.ย.นี้ พร้อมขั้นตอนในการเข้าชมอย่างละเอียด

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกาศเปิดให้มีการศึกษาธรรมชาติบริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาว หน่วยพิทักษ์ป่าขุนห้วยแม่กอก(เด่นหญ้าขัด) ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 (ไม่อนุญาตให้ขึ้นวันพุธ)  โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้






กำหนดพื้นที่ในการเดินศึกษาธรรมชาติ 

เฉพาะหน่วยพิทักษ์ป่าขุนห้วยแม่กอก(เด่นหญ้าขัด) เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาว จุดพักแรมอ่างสลุงและยอดดอยหลวงเชียงดาวเท่านั้น ไม่อนุญาตให้เข้าไปในพื้นที่หวงห้ามอื่น

ระยะเวลาในการเดินศึกษาธรรมชาติ

จำนวน 2 วัน และพักแรม 1 คืนเท่านั้น

กำหนดพื้นที่รองรับการพักแรมด้วยเต็นท์

บริเวณจุดพักแรมอ่าวสลุง จำนวนไม่เกิน 150 คน/วัน


ดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เปิด 1 พ.ย.นี้ พร้อมขั้นตอนในการเข้าชมอย่างละเอียด



ขั้นตอนในการจองคิวเข้าศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาว

1.ดำเนินการขออนุญาตเข้าพื้นที่สำหรับบุคคลทั่วไป กรณีพักแรม ให้ยื่นเอกสารด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์มาที่ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่) เลขที่ 153 ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 หรือสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่) หมายเลขโทรศัพท์ 053233337 โดยยื่นเอกสารเอกสารประกอบการขออนุญาตเข้าพื้นที่อย่างน้อย 4 วันก่อนวันที่ประสงค์จะเข้าพื้นที่ ในวันและเวลาราชการ โดยนับจากวันที่ประทับตรงลงรับหนังสือ การอนุญาติจะมีผลต่อเมื่อผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่) พิจารณาลงนามอนุญาตเท่านั้น

2.เอกสารประกอบการขออนุญาตเข้าพื้นที่

- คำร้องขออนุญาตฯ 1 ใบ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ร่วมเดินทางทุกคน พร้อมกับเซ็นสำเนาถูกต้องในบัตรประชาชนทุกใบ
- เบอร์โทรศัพท์พร้อมรายชื่อผู้ติดต่ออย่างน้อย 2 เบอร์

ตัวอย่างแบบฟอร์มขออนุญาต

ดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เปิด 1 พ.ย.นี้ พร้อมขั้นตอนในการเข้าชมอย่างละเอียด

3. เมื่อได้รับการอนุญาตเข้าพื้นที่แล้วแล้ว ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16(เชียงใหม่) จะดำเนินการส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตเข้าไปใช้สถานที่ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า แก่ผู้ขอผ่านช่องทางติดต่อในแบบคำขอฯ หลังจากนั้นให้ผู้ได้รับอนุญาตติดต่อรายละเอียดการศึกษาธรรมชาติ ได้แก่ คนนำทาง ลูกหาบ รถรับจ้าง อุปกรณ์พักแรมและรายละเอียดอื่นๆ ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว หมายเลขโทรศัทพ์ 053456623 ในเวลาราชการ

4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวจะตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าพื้นที่ เป็นรายบุคคลตามการขออนุญาตเข้าพื้นที่เท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรายชื่อหรือบุคคลที่เข้าพื้นที่นอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต

5. ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องออกเดินทางโดยรถรับจ้างจากที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวไปยังหน่วยพิทักษ์ป่าขุนห้วยแม่กอก(เด่นหญ้าขัด) ไม่เกิน 10.00 น. และจะลงจากจุดพักแรมอ่างสลุงไม่เกิน 9.00 น. โดยสามารถใช้บริการได้จำนวน 5 คนพร้อมสัมภาระ

6. ผู้มาศึกษาธรรมชาติบริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาวทุกคน จะต้องทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

7. ผู้มาศึกษาธรรมชาติบริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาวทุกคน จะต้องเข้ารับฟังการบรรยายแนะนำสถานที่ ระเบียบปฏิบัติในการเข้าพื้นที่จากเจ้าหน้าที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

8. ผู้มาศึกษาธรรมชาติบริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาว จะต้องมีคนนำทางเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรในพื้นที่ อำนวยความสะดวก กำกับดูแล ในเบื้องต้น และรักษาความปลอกภัยโดยกำหนดให้คนนำทาง 1 คน ดูแลผู้ศึกษาธรรมชาติสูงสุดไม่เกิน 10 คน 

9. ผู้มาศึกษาธรรมชาติบริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาว ไม่จำเป็นต้องมีลูกหาบแบกสัมภาระให้ แต่หากต้องการใช้บริการลูกหาบ ผู้ศึกษาธรรมชาติจำนวน 5 คนสามารถใช้บริการลูกหาบได้เพียง 1 คน

10. ผู้มาศึกษาธรรมชาติบริเวณดอยหลวงเชียงดาว จะต้องจ่ายค่ามัดจำขยะ และต้องนำขยะและของเหลือใช้กลับออกไปทิ้งนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจำดำเนินการยึดเงินมัดจำขยะ และยังต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมายอีกด้วยและขอความร่วมมือลดปริมาณขยะและไม่นำพลาสติกใช้ครั้งเดียวเข้าไปในพื้นที่

11. ห้ามนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทเข้ามาดื่มในบริเวณขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

12. ผู้มาศึกษาธรรมชาติบริเวณดอยหลวงเชียงดาว จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19)








เขียนโดย
นางสาวฮานะ ชิลไปไหน
นางสาวฮานะ ชิลไปไหน