0
0
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

อัพเดทอัตราภาษีที่ดินปี 2563 ที่ดินแบบไหน ต้องจ่ายเท่าไหร่ ไปดูกัน!

calendar_month 29 ส.ค. 2020 / stylus Admin Chillpainai / visibility 31,943 / ข่าวท่องเที่ยว

หลังจากที่มีการประกาศพระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 63 ที่ผ่านมา และใกล้หมดเขตการยื่นภาษีที่ดินในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้  หลายคนอาจจะมีความกังวลใจว่าการถือครองที่ดินของเราต้องเสียภาษีหรือไม่ และควรต้องจ่ายเท่าไหร่ ไปอัพเดตอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจ่ายในปี 2563 กันได้เลย

f48e1cdcb22497f5d27e2d0de4ed6ae10ce06a6e.jpg

รายละเอียดของอัตราภาษีที่ดินที่ต้องจ่ายในปี 2563 มีดังนี้

1.ที่ดินเกษตรกรรม

- บุคคลธรรมดา / มูลค่าประเมิน 5 ล้านบาท / ยกเว้น 3 ปีแรก

- นิติบุคคล / มูลค่าประเมิน 5 ล้านบาท / อัตราภาษี 0.01% / ภาษีเดิม 500 บาท / ภาษีใหม่ 50 บาท

2.ที่อยู่อาศัย 

มูลค่าประเมิน 5 ล้านบาท / อัตราภาษี 0.02% / ภาษีที่ต้องจ่ายเดิม 1,000 บาท / ภาษีที่ต้องจ่ายปี 2563 100 บาท

3.สิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชยกรรม 

มูลค่าประเมิน 5 ล้านบาท / อัตราภาษี 0.3% / ภาษีที่ต้องจ่ายเดิม 15,000 บาท / ภาษีที่ต้องจ่ายปี 2563 1,500 บาท

4.ที่ดินรกร้าง  

มูลค่าประเมิน 5 ล้านบาท / อัตราภาษี 0.3% / ภาษีที่ต้องจ่ายเดิม 15,000 บาท / ภาษีที่ต้องจ่ายปี 2563 1,500 บาท


b5d9a7a0c3d055658df3af4db19c555cb7f59c65.jpg


หลักการคำนวณภาษีบ้าน

การคำนวณภาษีจะแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่เป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับกรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น และเงื่อนไขของทั้ง 2 กรณีก็คือผู้ที่เป็นเจ้าของจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านด้วย วิธีการคิดภาษีจะวัดตามการประเมินมูลค่าซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

กรณีที่ 1: บ้าน (สิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดิน)

• บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี

• บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 50-75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03 %

• บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 75-100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05%

• บ้านพร้อมที่ดิน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.1%


กรณีที่ 2: บ้าน (เฉพาะสิ่งปลูกสร้าง)

• บ้าน มูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี

• บ้าน มูลค่า 10-50 ล้านบาท คิดภาษี 0.02%

• บ้าน มูลค่า 50-75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03%

• บ้าน มูลค่า 75-100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05%

• บ้าน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.1%


หลักการคำนวณภาษีสำหรับคอนโดฯ

การคิดภาษีของคอนโดฯ จะมีรายละเอียดมากกว่า ต้องใช้ข้อมูลทั้งการประเมินมูลค่าและขนาดของพื้นที่ แล้วนำมาเข้าสูตร จากนั้นก็หักลบกับเงื่อนไขของแต่ละประเภทคอนโดฯ อีกทีหนึ่งถึงจะได้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง

**สูตรสำหรับคิดภาษีคอนโดฯ

(ราคาประเมินต่อตารางเมตร x ขนาดพื้นที่ห้องชุด) = (มูลค่าของคอนโดฯ x อัตราภาษีแบบขั้นบันได)

โดยมีการจำแนกประเภทของคอนโดฯ ออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งมีเงื่อนไขในการคิดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่างกัน ดังนี้

• คอนโดฯ หลังแรก และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านแรก

• คอนโดฯ หลังที่ 2 เป็นต้นไป ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ให้คิดภาษีทั้งหมดไม่มีส่วนยกเว้น

• คอนโดฯ ปล่อยเช่า จะคิดภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย


ทั้งนี้ บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้นจัดเก็บภาษีในช่วงปีภาษี 2563-2565 นอกจากนี้ เรายังสามารถผ่อนชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ด้วย โดยกำหนดระยะเวลาใหม่นั้น ยังคงการผ่อนชำระเป็น 3 งวด ได้แก่ เดือนสิงหาคม, กันยายนและงวดสุดท้ายในเดือนตุลาคม 2563


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่จะไม่ส่งผลกระทบกับคนทั่วไปที่มีบ้านหรือคอนโดมิเนียม ที่อยู่อาศัยเองหลังเดียวในราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่สำหรับผู้ที่มีบ้านหรือคอนโดมิเนียมหลังที่สอง หรือมีอสังหาริมทรัพย์ปล่อยเช่า รวมทั้งผู้ที่ถือครองไว้เปล่าๆ ไม่ได้ทำประโยชน์ คนกลุ่มนี้จะต้องชำระภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 ทั้งหมด


ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้แถลงชี้แจงเพิ่มเติมว่า การเรียกเก็บและการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การส่งใบประเมินเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปยังเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในกรณีที่ตรวจสอบใบประเมินดังกล่าวแล้วพบว่าถูกต้อง ผู้เสียภาษีค่อยไปชำระภาษี ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายช่องทาง เช่น สำหรับกรุงเทพมหานครสามารถชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือผ่าน QR code ของระบบ Online Banking ในท้ายใบประเมิน หรือที่สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง ส่วนในต่างจังหวัดสามารถชำระได้ที่สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือตามช่องทางอื่นที่กำหนด

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ประชาชนไม่ได้รับใบประเมินเรียกเก็บภาษี หรือท้องถิ่นขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาในการชำระภาษีออกไป ประชาชนก็จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งในขณะนี้ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนหนึ่งได้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีออกไปจากสิ้นเดือนสิงหาคม 2563 แล้ว และยังมีอีกหลายแห่งรวมทั้งกรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการพิจารณาขยายกำหนดเวลาชำระภาษีดังกล่าว

โดยประชาชนในกรุงเทพมหานครสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารในเรื่องการขยายระยะเวลาชำระภาษีได้ที่กองรายได้ กรุงเทพมหานคร โทร. 02-221-2141 ถึง 69 และในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอบถามได้ที่กองคลังในแต่ละเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล


ที่มา : สำนักนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02-273-9020 ต่อ 3511


เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai