0
0
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

บทสรุป โควิด-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย

calendar_month 22 ก.ค. 2020 / stylus Admin Chillpainai / visibility 28,838 / ข่าวท่องเที่ยว

140fa0cf8c3e9be568bd003f063bfdbc400186d4.jpg

ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 โควิด-19 เริ่มระบาดหนักทั่วทุกพื้นที่โลก การท่องเที่ยวถือได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากมาตรการการล็อคดาวน์ อย่างไรก็ตาม การร่วมมือร่วมใจกันระหว่างรัฐ บุคลากรทางการแพททย์ และประชาชนทุกคน ทำให้ประเทศไทยฟื้นตัวขึ้นมาได้ค่อนข้างเร็ว และปัจจุบันสามารถเริ่มดำเนินนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวได้แล้ว Chillpainai ชวนทุกคนย้อนดู บทสรุป โควิด-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย โดยกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา

ไทม์ไลน์พิษโควิด-19 กับการท่องเที่ยวไทย


เดือนมกราคม - มีนาคม

ไวรัสโควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจโลกโดยรวม รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดการเดินทาง ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศทั่วโลกลดลง 


จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ลดลงร้อยละ 38.01 และจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทยลดลงด้วย เช่นกันในอัตราร้อยละ 30.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 


พลักดันการใช้ ‘มาตรการระยะห่างทางสังคม’ (Social Distancing)

ปลายเดือนมีนาคม มีการจำกัด การเดินทางระหว่างจังหวัดและระหว่างประเทศ ลดการให้บริการ ขนส่งสาธารณะ และการใช้มาตรการระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ดำเนินมาตรการอย่างเข้ม ข้น ทำให้สถานการณ์ต่างๆ มีแนวโน้มดีขึ้น 


เดือนเมษายน - ปัจจุบัน

รัฐบาล ประกาศใช้มาตรการผ่อนปรนมาจนถึงปัจจุบัน เข้าสู่ระยะที่ 5 ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ มีการเปิดให้มีการจัดประชุม สัมมนาการเดินทางโดยเครื่องบินสำหรับ การเดินทางในประเทศ และการเปิดให้บริการของร้านอาหารและสถานบันเทิง 


มาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวไทย “เราเที่ยวด้วยกัน”


คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบมาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวไทย ในชื่อโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนแล้ว ตั้งแต่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา แต่ยังคงเน้นย้ำมาตรการเว้นระยะห่าง (Social Distancing) และการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งในที่สาธารณะ รวมทั้งยังมีการจัดทำโครงการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมาตรฐานความ ปลอดภัยด้านสุขอนามัย หรือที่เรียกว่า (Amazing Thailand Safety & Health Administration: SHA) เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติในอนาคต



กลยุทธ์ทางด้านการท่องเที่ยวที่ควรให้ความสำคัญ ประกอบด้วย


1.การสร้างความร่วมมือทั้งในระดับประเทศ และระดับพื้นที่กับประเทศต้นทางที่มีประวัติติดเชื้อต่ำ (Travel Bubble) ควบคู่กับการทำตลาดเชิงรุก สร้างแบรนด์เมืองที่มีประวัติติดเชื้อต่ำหรือปลอดเชื้อ สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แสวงหาความปลอดภัยและต้องการอยู่แบบระยะยาวให้การเดินทางมาประเทศไทย เป็น Hi Trip และ Hi Trust

2.เชื่อมโยงแพลตฟอร์มไทยชนะซึ่งสามารถติดตามผู้เดินทางกับแพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชั่น ด้านการท่องเที่ยวเป็นภาษาต่างประเทศ

3.ปรับปรุงบริการที่เกี่ยวเนื่องกับด้านการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานการให้บริการและสุขอนามัยครอบคลุม เพิ่มมากขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน เช่น บริการที่พักและบริการรถรับส่ง สาธารณะ เป็นต้น

4.สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมทักษะบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่เน้นด้านการดูแลสุขภาพ 

5.ประสานความร่วมมือระหว่างกิจการขนาดเล็กในห่วงโซ่อุปทานให้สามารถอำนวย ความสะดวกให้แก่กันและกัน เช่น โรงแรมขนาดเล็กกับบริการฟิตเนส หรือกับนวดแผนไทย ฯลฯ เป็นต้น

6.ออกแบบโครงข่ายการสัญจร และการใช้ประโยชน์พื้นที่ในย่านท่องเที่ยวให้เหมาะกับนโยบาย Social Distancing เช่น การเดินหรือขี่จักรยานเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ขนส่ง พาหนะหรือการใช้รถทัวร์ขนาดใหญ่ 7.ยกระดับมาตรฐานด้านสาธารณูปโภคและความปลอดภัยของภาครัฐและการบังคับใช้ กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มข้น

8.ยกระดับระบบบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพในตำบลที่มีนักท่องเที่ยวหนาแน่น โดยให้ได้มาตรฐานสากลทั้งด้านความปลอดภัย และด้านสุขภาพสามารถบริการด้วยภาษาสากล

9.ปรับทางเข้าด่านและเทอร์มินอลต่างๆ ให้มีความแออัดลดลง และปลอดภัยจากการติดเชื้อ

10.ปรับปรุงโรงแรมและที่พักให้เป็นสถานที่สำหรับกลุ่มเปราะบาง ซึ่งครอบครัวต้องการให้อยู่ห่างจากการติดเชื้อ เช่น ผู้ที่เป็นมะเร็ง และอยู่ในระยะพักฟื้น ผู้สูงอายุที่มีโรคเบาหวานและความดันสูง เป็นต้น 


จากการระบาดโควิด-19 ในครั้งนี้ทำให้ประเทศไทย จำเป็นต้องมีแนวทางเตรียมความพร้อมทางด้านการท่องเที่ยวรองรับ กับการระบาดของโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองด้านการท่องเที่ยวด้วยการยกระดับความสำคัญของการท่องเที่ยวภายในประเทศให้มากขึ้น ที่สำคัญคือการสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดกับภาคธุรกิจและเจ้าของ แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนถึงความสำคัญของการคำนึงถึงเรื่องของมาตรฐานและสุขอนามัยในลำดับต้นๆ ควบคู่กับการรักษาไว้ซึ่งความสมบูรณ์ทางธรรมชาติวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่เชื่อมโยงกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่


ที่มา : กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา

วิธีจองที่พักในโครงการ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ ผ่าน Agoda : https://www.chillpainai.com/scoop/12102

เปิดขั้นตอนการใช้สิทธิ์ 'เราเที่ยวด้วยกัน' หลังจากได้รับ SMS ยืนยันการลงทะเบียนสำเร็จ : https://www.chillpainai.com/scoop/12088

เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai