calendar_month 21 เม.ย. 2020 / stylus Admin Chillpainai / visibility 5,326 / ข่าวท่องเที่ยว
ในสถานการณ์วิกฤติแบบนี้ เพื่อนๆ หลายคนอาจจะได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนๆ ญาติ ครอบครัว หรือคนรอบข้างที่โทรมาเพื่อขอคำปรึกษาปัญหาต่างๆ หากเราต้องรับบทเป็นที่ปรึกษาจำเป็นขึ้นมา คำพูดแบบหรือคำแนะนำแบบไหนกันล่ะที่เราควรเลี่ยง? เพราะหากพูดไปแล้วอาจทำให้คู่สนทนาไม่สบายใจหรือเครียดหนักกว่าเดิมก็ได้!
ข้อมูลจากคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งแคนาดา ระบุว่าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อาจทำให้คนเกิดสภาวะความเครียด อาจต้องการที่ปรึกษาที่สามารถให้คำแนะนำ และสนับสนุนการตัดสินใจต่างๆ ถ้อยคำในการให้คำปรึกษาก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน จะเป็นเรื่องดีมากๆ เลย ถ้าเรารู้ว่าการให้คำปรึกษาแบบไหนบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง
1. อย่าให้คำแนะนำหรือพยายามหาทางแก้ปัญหาแบบเร่งด่วนให้เพื่อน
การรีบหาทางแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างรวดเร็ว อาจจะไม่ได้ผ่านการคิดไตรตรองอย่างดีเสียก่อน และอาจจะเป็นการแก้ปัญหาจากมุมมองของเรา โดยไม่ได้นำปัจจัยต่างๆ ในมุมมองของเขามาประกอบ อาจทำให้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ทางที่ดีควรรับฟังอย่างมีสติ ไม่รีบตัดสินอะไรเร็วเกินไปนัก
2. อย่าทำเหมือนรู้ทุกอย่าง หรือเข้าใจทุกอย่างที่เกิดขึ้น หากไม่ได้เข้าใจจริงๆ
หากเอาแต่พูดว่า "ฉันเข้าใจนะ" "ฉันรู้ว่าเธอรู้สึกอย่างไร" แต่ความจริงเราอาจไม่ได้รับรู้ปัญหาทุกอย่างอย่างแท้จริงเลยก็ได้ หรืออาจรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้เข้าใจผิดกันไปเปล่าๆ อีกหน้าที่ที่ดีของที่ปรึกษาก็คือการรับฟังอย่างตั้งใจ ถ้าเราเอาแต่บอกว่าเข้าใจไปเสียหมด อาจจะทำให่คู่สนทนาอึดอัดใจ และคิดว่าไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรอีกแล้ว...
3. อย่าเอาเรื่องของตัวเอง หรือประสบการณ์ของตัวเองมาเชื่อมโยงมากนัก
การยกเรื่องของตัวเอง หรือประสบการณ์ที่เคยเจอจริงๆ มาเล่าหรือให้คำปรึกษาก็คงไม่แปลก แต่จะแปลกตรงที่เอาแต่พูดเรื่องของตัวเองไม่หยุด คนที่โทรมาขอคำปรึกษาอาจมีเรื่องอยากพูดในใจอีกเป็นร้อย และเขาคือตัวละครหลักของเรื่องนี้ อีกอย่างการแก้ปัญหาของแต่ละคน นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้เสียทั้งหมด เพราะปัจจัยต่างๆ ที่ต่างกัน ทำให้แต่ละคนต้องมีวิธีแก้ปัญหาของตัวเองที่แตกต่างกันไปด้วย
4. อย่าถามคำถามนำ หรือถามว่า “ทำไม” ซ้ำๆ เพราะเหมือนเป็นการจับผิดและสืบสวน
การให้คำปรึกษาด้วยการถามคำถามมักเป็นวิธีการให้คำปรึกษาของจิตแพทย์ แต่แน่นอนว่าไม่ควรจะเป็นคำถามนำ เช่น "แบบนี้เธอก็ต้องตกงานหรอ?" "เธอจะต้องว่างงานหรอเนี่ย?" คำถามนำพวกนี้จะทำให้คู่สนทนาเป็นทุกข์มากกว่าเดิม เพราะพวกเขารู้คำตอบดีอยู่แล้ว รวมถึงการถามว่า "ทำไม" ซ้ำๆ อาจทำให้เขารู้สึกเหมือนถูกจับผิดและถูกสอบสวน
5. อย่าบอกข้อมูลที่ไม่มั่นใจ หรือ Fake News เพราะอาจทำให้สับสนมากกว่าเดิม
หากอยากช่วยกันแก้ปัญหาจริง ข้อมูลต่างๆ ที่ส่งต่อถึงกันก็ควรเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีที่มาที่ได้ เพราะการให้คำปรึกษาโดยการให้ข้อมูลที่ไม่มั่นใจ อาจทำให้เขาสับสนวุ่นวายใจมากกว่าเดิม และอาจตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยข้อมูลที่ผิดพลาดอีกด้วย
สิ่งที่ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ อาจจะเป็นการรับฟัง...และทำให้เขาเข้าใจว่ายังมีเราอยู่เสมอ หากพบว่าคู่สนทนามีภาวะเครียดที่รุนแรง ควรแจ้งคนรอบข้างของเขาเอาไว้ หรือหมั่นโทรเช็คบ่อยๆ ว่า สถานการณ์เป็นยังไงบ้าง? ดีขึ้นบ้างไหม? ดูแลตัวเองแล้ว ก็อย่าลืมดูแลคนรอบข้างด้วยนะ :)
อ่านสกู๊ปเพิ่มเติม
10 เหตุผลที่ประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ถึงหลักหมื่น : https://www.chillpainai.com/scoop/11776
10 ช่องยูทูปเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ฟรี! ไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้ : https://www.chillpainai.com/scoop/11774
ข่าวท่องเที่ยว | 23 ธ.ค. 2024 | 30 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 20 ธ.ค. 2024 | 127 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 19 ธ.ค. 2024 | 157 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 17 ธ.ค. 2024 | 385 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 13 ธ.ค. 2024 | 677 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 12 ธ.ค. 2024 | 212 อ่าน