0
0
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

แอปพลิเคชัน Zoom เสี่ยงถูกละเมิดข้อมูลส่วนตัว !

calendar_month 08 เม.ย. 2020 / stylus Admin Chillpainai / visibility 7,727 / ข่าวท่องเที่ยว

แอปพลิเคชัน Zoom เสี่ยงถูกละเมิดข้อมูลส่วนตัว !

ในสถานการณ์ Covid-19 หลายๆ บริษัทให้พนักงาน Work From Home แต่ก็ต้องมีการประชุมร่วมกับทีม ซึ่งหลายคนคงจะรู้จักกับแอปพลิเคชั่น Zoom กันแล้ว ซึ่งในปัจจุบันแอปพลิเคชั่นนี้หรือแพลตฟอร์มนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในการใช้ประชุมทางไกลผ่านทางออนไลน์ โดยมีผู้ใช้รายวันกว่า 200 ล้านคนทั่วโลกในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ใครจะรู้ว่า Zoom มีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยในด้านข้อมูลมากน้อยเพียงใด เพราะไม่มีการเข้ารหัสแบบ end-to-end ที่จะทำให้ข้อมูลปลอดภัยจากการโดนดักฟังหรือการสอดส่องข้อมูล แถมถ้าไม่ได้ใส่รหัสห้องประชุม ก็อาจจะมีแขกไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมกลุ่มการประชุมได้อย่างสบายๆ 


ถึงแม้ว่า Zoom จะใช้งานได้ง่ายและมีลูกเล่นให้เล่นเยอะ แต่เพราะเหตุผลข้างต้น จึงที่ทำให้หลายๆ บริษัททั้งในไทย และต่างชาติ ไม่นิยมให้พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรใช้โปรแกรม Zoom ในการประชุมทางไกลออนไลน์ เพราะบางครั้งเราอาจถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว และมีความเสี่ยงให้บัญชีของเราถูกแฮกอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามทาง Zoom ได้ออกมาประกาศว่า จะแก้ไขปัญหานี้ให้เร็วที่สุดค่ะ 


สำหรับใครที่ลงทะเบียนใช้งานแอปพลิเคชัน Zoom บน iOS ที่เชื่อมกับ Facebook หลังจากที่มีข่าวว่าทางแอปแอบส่งข้อมูลต่าง ๆ ของตัวเครื่องของผู้ใช้ให้กับ Facebook โดยไม่ได้รับอนุญาต ทาง Zoom ได้ทำการนำ Facebook SDK ที่เป็นตัวส่งข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ออกไปและทำการตั้งค่าใหม่เพื่อให้ผู้ใช้ยังสามารถล็อกอินด้วย Facebook ได้เช่นเดิม โดยแนะนำให้ผู้ใช้แอปพลิเคชัน Zoom บน iOS อัปเดตแอปเป็นเวอร์ชันล่าสุด เพื่อปิดช่องโหว่ดังกล่าว เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย


วิธีใช้งาน Zoom อย่างปลอดภัย

1.อย่าแบ่งปันลิงค์หรือรหัสประจำห้องประชุมบนพื้นที่สาธารณะ

2.อย่าใช้รหัสประจำตัว แต่ให้ซูมสร้างรหัสใหม่ทุกครั้งที่เริ่มการประชุม

3.ใช้รหัสผ่านอีกหนึ่งชั้นก่อนเข้าประชุม

4.ตั้งค่าให้มีแค่ผู้จัดการประชุม "host only" เท่านั้นที่สามารถแบ่งปันภาพหน้าจอได้

5.ตั้งค่าไม่อนุญาตให้มีการแบ่งปันไฟล์ เพื่อป้องกันการเผยแพร่ มัลแวร์ (malware) หรือไวรัสที่อาจทำลายระบบของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

6.ปิดการตั้งค่า "เข้าร่วมก่อนผู้จัด" หรือ "join before host"

7.ปิดการตั้งค่าการอนุญาตให้บุคคลที่ถูกนำออกจากการประชุมกลับเข้ามาได้ หรือ "allow removed participants to rejoin"


แพลตฟอร์มโปรแกรมอื่นๆ ที่สามารถใช้ประชุมออนไลน์ได้  Skype for business, WebEx , Google Hangouts และ Microsoft Teams  




ที่มา :  BBC Thai , Beartai ,reuters , sanook


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

วิธีรับมือสำหรับนักธุรกิจในช่วง Covid-19 โดย ดร.พยัต วุฒิรงค์ : https://www.chillpainai.com/scoop/11649

สอนทำอาหารฟรี! โดยสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา สอนสดผ่าน Facebook Live กว่า 20 เมนู : https://www.chillpainai.com/scoop/11640

เงินเข้าแล้ว! 5,000 บาทวันนี้วันแรก ใครยังไม่ได้มาลองเช็กสถานะที่นี่ : https://www.chillpainai.com/scoop/11658


เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai