calendar_month 07 เม.ย. 2020 / stylus นางสาวฮานะ ชิลไปไหน / visibility 5,514 / ข่าวท่องเที่ยว
ดร.พยัต วุฒิรงค์ นักบริหารจัดการนวัตกรรมและสร้างคุณค่าแถวหน้าของเมืองไทย (Value Creator and Inovationist) ได้แนะนำวิธีรับมือทั้งธุรกิจรายใหญ่ และรายย่อยในช่วงวิกฤต Covid-19 ได้อย่างน่าสนใจผ่านทางเฟ้สบุ้คส่วนตัว Phayat Wutthirong วันนี้ทางชิลไปไหนจึงได้นำบทความนี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคน เพื่อเป็นแนวทางในการนำพาธุรกิจให้สามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ลองตามไปชมแง่คิดดีๆ ครั้งนี้กันค่ะ
วันนี้ผมมีให้คำปรึกษา Online CEO และผู้บริหาร C-Level บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ SET แห่งหนึ่ง .. คำถามที่ได้วันนี้คือ หุ้นบริษัทตกหนัก มูลค่าบริษัทลด fixed cost สูง รายได้น้อย ไม่รู้วิกฤตจะจบเมื่อไหร่ มองไม่เห็นปลายทาง ควรทำยังไงต่อดี?
ก่อนตอบ หลายคนคงถามว่า ทำไมเรื่องแบบนี้ต้องถามคนนอก .. ง่ายๆ เลย เราเคยตกอยู่ในปัญหาที่ไม่มีทางออกหรือเปล่า ถ้าเคยคงจะรู้ว่า เมื่อเราจมอยู่กับปัญหา เราจะคิดวนเวียนกับปัญหา และเมื่อเราได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้นแล้ว เราก็จะมองไม่เห็นแสงสว่างเล็กๆ ที่มีอยู่ .. ทุกปัญหามีทางออกเสมอ อยู่ที่เรามีสติพอหรือเปล่า การมองจากวงนอกจะเห็นปัญหาได้ชัดกว่า (แต่ไม่ได้ลึกกว่า)
ผมให้คำปรึกษาบริษัทนี้มาไม่นาน ช่วยผู้บริหารทำเรื่องการเปลี่ยนสภาพองค์กร Business Transformation แต่ตอนนี้บริษัทเดือดร้อนหนัก เลยมาขอคำแนะนำเรื่องความอยู่รอด Survival แทน
คำตอบที่ผมตอบไป ผมอยากนำมาแชร์ ไม่ต้องเสียเงิน แต่ขอเล่าในภาพรวม ไม่อิงตามบริบทของอุตสาหกรรม บุคคลทั่วไปก็นำไปประยุกต์ใช้ได้
====
ถามตัวเองก่อน... และหาวิธีแก้ไขทีละเปราะ อย่าลนลานที่จะแก้ทุกปัญหาพร้อมกัน ให้แยกส่วนแต่ละปัญหาออกจากกัน อะไรคือปัญหาใหญ่ อะไรคือปัญหาเล็ก อะไรแก้ได้ อะไรแก้ไม่ได้ .. ตามหลักการคิดเชิงระบบและการคิดวิเคราะห์
ถึงเวลานี้ ทุกองค์กร ทุกคน ต้องประเมินความพร้อมของตัวเองก่อน ถึงจะรู้ว่าจะเดินอย่างไรต่อไป ถ้าไม่มีเงินสดเหลือเลย หรือเหลือน้อยมาก ก็จะอึดอัดหน่อย ต้องแก้ปัญหาให้เร็ว แล้วทำตามข้อต่อๆ ไป
Fixed Cost คือต้นทุนที่ไม่ว่าจะผลิตหรือไม่ผลิตสินค้าหรือบริการก็ต้องจ่ายเงินออก เช่น รถ อาคาร ดอกเบี้ย พนักงาน
ลดยอดเงินที่ต้องจ่ายออกให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเพิ่มเงินสดคงเหลือในมือ
สามข้อแรกเป็นเพียงการทำให้เงินไหลออกช้าลง แต่ไม่ช่วยเพิ่มการอยู่รอด ทางรอดคือ "การปรับองค์กรหารายได้เพิ่ม ปรับวิธีการ สร้างคุณค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่"
ตอนนี้ไม่มีคนซื้อของ หรือ คนซื้อของลดลง ให้ดูว่าจะขายเป็นเงินได้หรือไม่ ให้ดูว่าสามารถแปรรูปเป็นอย่างอื่นที่เหมาะกับสถานการณ์ได้หรือไม่ เช่น ร้านอาหาร จะเปลี่ยนรูปแบบเป็น delivery ก็ต้องทำ ดีกว่าหยุด มูลค่าเป็นศูนย์
งดเครดิต หรือ เครดิตให้น้อยที่สุด ช่วงนี้ ขายถูกได้เงินสด ดีกว่า ขายแพงเป็นเครดิต รายย่อย และค้าปลีก ยังต้องกินต้องใช้
ขอความช่วยเหลือกัน รู้ว่าทุกคนหนัก แต่มีคนหนักมาก หนักน้อย แตกต่างกัน เพื่อนจะช่วยเพื่อนได้เสมอยามลำบาก ศักดิ์ศรี และ ego บางอย่าง ปล่อยไปก่อน เอาชีวิตให้รอด
เช่น ชื่อเสียงการทำธุรกิจ ระบบงาน มาตรฐานการทำงาน หรือ ทักษะและจำนวนพนักงานที่มี ไม่มีใครอยากอยู่บ้านเฉยๆ บริษัทต้องหาอาชีพให้พนักงาน บริษัทเป็นคนทำระบบ พนักงานทำงานจากบ้าน ช่วยเหลือกันไป ไม่ทิ้งกัน
อะไรไม่เคยทำก็เริ่มทำดู คนยังต้องกินต้องใช้ แต่เปลี่ยนรูปแบบไปเป็น Online ทำความเข้าใจ Customer Journey ใหม่ในภาวะวิกฤต ข้อดีขององค์กรใหญ่คือ มีความน่าเชื่อและมีความเป็นมาตรฐานมากกว่า ข้อดีขององค์กรเล็กคือ ปรับตัวได้เร็วกว่า ต้องดึงข้อดีขององค์กรทั้งสองแบบมาใช้ในช่วงวิกฤต
ดังคำกล่าวที่ว่า เสียอวัยวะดีกว่าเสียชีวิต ขอแค่รักษาบริษัทได้ เมื่อทุกอย่างดีขึ้น พร้อมแล้ว ค่อยเอากลับมาก็ไม่สาย
พยายามใช้วิธีอื่นตามที่บอกมาแล้ว พนักงานคือสิ่งสุดท้ายที่บริษัทต้องทิ้ง เพราะเมื่อวิกฤตคลาย พนักงานที่มีอยู่จะทำให้องค์กรเดินหน้าได้ทันที
ช่วงวิกฤตคือช่วงที่ทุกคนต้องทบทวนสิ่งที่ทำมา อะไรดี อะไรผิดพลาด อะไรคือเป้าหมายต่อไป เมื่อรู้แล้ว ให้เริ่มวางแผนและทำในช่วงที่งานไม่ล้นมือ เพื่อเดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคง
อย่าผิดคำพูด อย่าเอาตัวรอดไปวันๆ อย่าทำสิ่งที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น คนจะจำ!!
และปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมลูกค้า พนักงานและโลกหลังวิกฤต ศึกษาการทำงาน การทำธุรกิจผ่านดิจิทัลให้ได้แบบ 100%
ค่อยๆ คิด ค่อยๆ แก้ทีละปัญหา ถ้าคิดไม่ออกก็หาคนช่วย อย่างที่บอกตอนต้น ถ้าเราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เราจะเห็นแต่ปัญหา หาคนช่วยมองจากวงนอก แล้วค่อยๆ ลงมือทำ .. ที่สำคัญอย่า ego มาก รับฟัง ปรับตัว ร่วมด้วยช่วยกัน แล้วทุกคนจะรอด
====
ความเห็นส่วนตัวของผม คือ วิกฤตนี้จะยาวไปอีกอย่างน้อยสามถึงหกเดือนถึงจะกลับมาเป็นปกติ วิกฤตนี้เกิดขึ้นทั้งโลก และยังไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ ขอให้รู้เพียงอย่างเดียวว่า หลังวิกฤตจบ โลกจะกลับมาสวยดังเดิม เพราะฉะนั้น เจ็บได้ ล้มได้ แต่ห้ามตาย!!! อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด วิกฤตมีไว้เพื่อให้เราเรียนรู้ ปรับตัว และทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น
ขอพลังจงสถิตอยู่กับท่าน
ประสบการณ์การทำงานดร.พยัต วุฒิรงค์
- ผู้บริหารด้านการตลาด การขายและวางแผนธุรกิจ SCG มากกว่า 18 ปี
- ที่ปรึกษาสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โครงการพัฒนาการบริหารจัดการนวัตกรรมทั้งองค์การ (Total
Innovation Management)
- Special Professor Advisor, Ph.D. in Public Policy and Management, Kasem Bundit University
- Associate Editors, The International Journal of Knowledge, Culture and Change Management. Vol. 8, 2008.
- Reader, The 10th International Human Resource Management (IHRM) Conference SANTA FE, NEW MEXICO,
USA, JUNE 21-24, 2009.
- Reader, NIDA Development Journal, Journal of Public and Private Management (GSPA, NIDA), Journal of
Industrial Education (KMITL), Journal of Administration and Management (KMITL), The Journal of Academic
PHRANAKORN RAJABHAT UNIVERSITY
ขอบคุณที่มา : FB Phayat Wutthirong
ชมสกู๊ปอื่นๆ ที่น่าสนใจที่นี่
- เช็กด่วน! 10 จังหวัด ล็อกดาวน์ ห้ามเดินทางเข้าออก
https://www.chillpainai.com/scoop/11646
- แพทย์คอหูจมูก เตือน! สูญเสียการได้กลิ่น เสี่ยงเป็นโควิด-19
https://www.chillpainai.com/scoop/11643
- แอป Card2U แหล่งรวมข้อมูลโควิด พร้อมพิกัดพื้นที่เสี่ยงควรหลีกเลี่ยง
https://www.chillpainai.com/scoop/11637
Tags: วิธีรับมือสำหรับนักธุรกิจ Covid-19 ดร.พยัต วุฒิรงค์ โควิด19 โควิด covid Coronavirus
ข่าวท่องเที่ยว | 03 พ.ย. 2024 | 124 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 02 พ.ย. 2024 | 178 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 31 ต.ค. 2024 | 229 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 25 ต.ค. 2024 | 243 อ่าน