0
0
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

เปิดแผนเยียวยา ลูกจ้าง-ผู้ประกอบการ-ท่องเที่ยว จากผลกระทบโควิด-19

calendar_month 25 มี.ค. 2020 / stylus Admin Chillpainai / visibility 10,478 / ข่าวท่องเที่ยว

2b4353c2cf61078de35102a2157ef9af6eadd531.jpg

กระทรวงการคลังเปิด 8 มาตรการดูแลและเยียวยา ระยะ 2 จากผลกระทบจากโควิด-19 สำหรับแรงงาน ลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มมาตรการเพิ่มสภาพคล่อง

1. สนับสนุนเงิน

  • ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม: สนับสนุนเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือน รวม 3 เดือน (ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานที่เสี่ยงโควิด-19)

คุณสมบัติ

แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม หรืออาชีพอิสระที่ประกันตนตามมาตรา 39 และ มาตรา 40 ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 

หลักฐาน

1.บัตรประจำตัวประชาชน

2.ข้อมูลส่วนบุคคล

3.ข้อมูลนายจ้าง

วิธีการลงทะเบียน

ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com หากไม่สะดวกสามารถลงทะเบียนผ่านสาขาของธนาคารรัฐ 3 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ธนาคารกรุงไทย

เบื้องต้นวันลงทะเบียนคือวันที่ 28 มีนาคม (หากมีการเปลี่ยนแปลงจะอัปเดตให้ทราบต่อไป)

รับเงินเยียวยา

1.พร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน

2.โอนเข้าบัญชีธนาคาร

8027584dd1aeaca5b99febce4de215ae8aa82e77.jpg

  • ผู้อยู่ในระบบประกันสังคม เพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง

เงื่อนไข

- นายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน

- รัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน 

2. สินเชื่อฉุกเฉิน

  • รับ 10,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ย 0.1% ไม่ต้องมีหลักประกัน 

3. สินเชื่อพิเศษ

  • รับ 50,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ย 0.35% มีหลักประกัน

4. สำนักงานธนานุเคราะห์ (โรงรับจำนำรัฐบาล)

  • รับจำนำดอกเบี้ยต่ำไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน


กลุ่มมาตรการลดภาระ

5. ยืดกำหนดเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถึงเดือนสิงหาคม 2563

6. เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ

  • จาก 15,000 เป็น 25,000 บาท

7. ยกเว้นภาษีเงินได้

  • ยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ (ค่าเสี่ยงภัย)


กลุ่มมาตราเพิ่มทักษะ

8. ฝึกอบรม เพิ่มทักษะอาชีพ

  • ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ เสริมอาชีพ เสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ


7 มาตรการดูแลและเยียวยา ผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจาก ไวรัส COVID-19 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มมาตรการเพิ่มสภาพคล่อง

1. สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย

  • วงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ลบ. โดย ธพว.

  • ให้สินเชื่อต่อรายไม่เกิน 3 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3% 2 ปีแรก


กลุ่มมาตรการลดภาระ

2. ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • ภ.ง.ด. 50 จากเดิม พ.ค. 63 ออกไปเป็นภายใน 31 ส.ค. 63

  • ภ.ง.ด. 51 จากเดิม ส.ค. 63 ออกไปเป็นภายใน 30 ก.ย. 63

3. ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ

  • เลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบและชำระภาษีและชำระภาษีทุกประเภท 1 เดือน

4. ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ

  • เลื่อนการยื่นแบบและชำระภาษีสถานบริการออกไป 3 เดือน ตั้งแต่ 1มีค. -31 พค. 63 ให้เสียภาษี 15 ก.ค. 63

5. ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

  • เลื่อนการยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 10 วันเป็นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 

  • ระยะเวลา 3 เดือน

6. ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษา COVID-19

  • ระยะเวลา 6 เดือน ถึงช่วงกันยายน 2563

7. ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Non-Bank)

  • ให้เจ้าหนี้ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ Leasing

  • ตั้งแต่ 1 มค. 63 - 31 ธ.ค. 64



มาตรการเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะ กรณีธุรกิจท่องเที่ยว

  • มอบหมายให้ธนาคารออมสินเป็นผู้นำหลักในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการโดยเร็ว เพื่อประคองให้ธุรกิจสามารถอยู่รอด

  • เลื่อนการจ่ายค่าเช่าที่ราชพัสดุสำหรับผู้เช่าประเภทผู้ประกอบการที่อยู่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องไปจนถึงเดือนกันยายน 2563 

  • การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น จาก 4.726 บาทต่อลิตร เป็น 0.20 บาทต่อลิตร จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563


เช็กสิทธิ์รักษาป่วยโควิด : ป่วย โควิด-19 ใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลอะไรได้บ้าง? เช็คด่วน!

แบบประเมินความเสี่ยงติดโควิด : ใครป่วย! ลองทำแบบประเมินความเสี่ยงติด โควิด-19 ด้วยตัวเองก่อนไปโรงพยาบาล

เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai