calendar_month 24 ธ.ค. 2019 / stylus Admin Chillpainai / visibility 12,706 / ข่าวท่องเที่ยว
สำหรับใครที่มีคอนโดต้องรีบเช็คด่วนเลย เพราะปีหน้าเราจะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันแล้ว ถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่และใกล้ตัวมาก เดี๋ยววันนี้เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันว่าจะต้องทำยังไงบ้าง?
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จริงๆ แล้วมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 2562 แต่เดิมจะเริ่มมีการจัดเก็บกันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป แต่ตอนนี้ได้มีการประกาศเลื่อนออกไปเป็นภายในเดือน สิงหาคม 2563 หมายความว่าตั้งแต่วันที่กำหนดคนที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือคนที่มีชื่ออยู่หลังโฉนดที่ดิน จะต้องไปเสียภาษีในทุกๆ ปี
การจัดเก็บภาษีจะคำนวณจาก ราคาประเมิน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างหรือห้องชุด ซึ่งจะเป็นการประเมินโดยกรมธนารักษ์โดยยึดจากราคาปีล่าสุด
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีการเก็บอัตราภาษีที่ไม่เท่ากันตามประเภทของการใช้งาน ได้แก่
1. เกษตรกรรม
2. ที่อยู่อาศัย
3. พาณิชยกรรม
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ซึ่งเราจะมาดูภาษีที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัยซึ่งใกล้ตัวและมีผลกระทบกับเรามากที่สุด สำหรับใครที่อยู่คอนโดก็น่าจะได้ ภ.ด.ส. 4 หรือใบภาษีที่ดินกันแล้ว เราจะมาดูกันต่อว่าเมื่อได้รับใบภาษีที่ดินมาแล้วควรทำยังไงต่อไป?
1) ควรตรวจสอบว่าข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ระบุไว้ถูกต้องตามความเป็นจริงมั้ย เช่น คอนโดที่เราใช้อยู่อาศัย แต่ถูกระบุอยู่ใน อื่นๆ หากไม่แก้เพื่อนๆ ก็จะต้องเสียภาษี ซึ่งจะมีการละเว้นภาษีหากเป็นบ้านหลังหลัก มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ลักษณะในการทำประโยชน์อยู่ในช่อง ที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เรียกว่าบ้านหลังหลัก ราคาต้องไม่เกิน 50 ล้านบาท จะไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งชื่อในโฉนดและทะเบียนบ้านต้องตรงกัน
ลักษณะในการทำประโยชน์อยู่ในช่อง ที่อยู่อาศัย แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน เรียกว่าบ้านหลังรอง ต้องเสียภาษี 0.02% หรือคิดง่ายๆ คือล้านละ 200 บาท
ลักษณะในการทำประโยชน์อยู่ในช่อง อื่นๆ ต้องเสียภาษี 0.3% หรือคิดง่ายๆ ล้านละ 3,000 บาท
เพื่อนๆ สามารถเปลี่ยนลักษณะในการทำประโยชน์จาก อื่นๆ เป็น ที่อยู่อาศัย กี่หลังก็ได้แต่จะถูกตรวจสอบ หากพบว่าแจ้งข้อมูลเท็จจะถูกจำคุก 2 ปี ปรับ 40,000 บาท
2) หลังจากตรวจสอบแล้วหากข้อมูลไม่ถูกต้อง รีบไปแจ้งเปลี่ยน แก้ไข ที่สำนักงานเขตตามทะเบียนบ้าน ซึ่งใช้เอกสารดังต่อไปนี้
2.1) สำเนาบัตรประชาชน
2.2) สำเนาทะเบียนบ้าน
2.3) สำเนาโฉนดที่ดิน / เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด
3.4) สำเนาใบ ภ.ด.ส. 4 (ใบภาษีที่ดินที่ได้รับจากเขต)
ซึ่งสามารถแจ้งเปลี่ยนลักษณะการทำประโยชน์ได้ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563
3) รีบย้ายชื่อไปอยู่ในทะเบียนบ้านก่อนสิ้นปี 2562 เพราะจะยึดฐานข้อมูลของวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นข้อมูลในการคำนวณภาษี ใช้เอกสารดังต่อไปนี้
3.1) สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
3.2) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3.3) สัญญาซื้อขายคอนโด
ย้ำกันอีกทีว่าต้องไปแจ้งเปลี่ยนลักษณะการใช้ประโยชน์ที่สำนักงานเขตตามทะเบียนบ้านเท่านั้นและตามข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง จะยึดฐานข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นข้อมูลในการคำนวณภาษี ฉะนั้นต้องรีบไปเปลี่ยนกันภายในปีนี้
ในกรณีที่แจ้งย้ายชื่อไปอยู่ในทะเบียนบ้านไม่ทันก่อนสิ้นปี ให้แจ้งเปลี่ยนข้อมูลการใช้ประโยชน์จาก อื่นๆ เป็น ที่อยู่อาศัยก่อนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 63 จะเสียภาษีเพียงแค่ 0.02% หรือล้านละ 200 บาทเท่านั้น
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับแบบแจ้งรายการห้องชุด (ภ.ด.ส.4 ) สามารถไปขอรับเอกสารเพื่อดำเนินการได้ที่สำนักงานเขตตามทะเบียนบ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ข่าวท่องเที่ยว | 13 พ.ย. 2024 | 219 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 07 พ.ย. 2024 | 584 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 06 พ.ย. 2024 | 381 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 04 พ.ย. 2024 | 261 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 03 พ.ย. 2024 | 338 อ่าน
ข่าวท่องเที่ยว | 02 พ.ย. 2024 | 408 อ่าน